วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประวัติหลวงปู่หนู ฉินนะกาโม




“หลวงปู่หนู ฉินนกาโม” ชื่อเดิมว่า “หนู เจริญวิทยา” เกิดเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ ที่หมู่ ๕ ต.หนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โยมบิดาชื่อ “นายฮง” มารดาชื่อ “นางบาง” จบชั้น ป.๔ โรงเรียนวัดหนองโพ แล้วช่วยบิดา-มารดาทำงานทางบ้าน จากนั้นได้บวชเป็นสามเณร ณ วัดหนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ นักธรรมโท แล้วหันมาสนใจวิชาทางไสยศาสตร์และเวทมนตร์คาถา พุทธาคม จึงไปเรียนวิชาการต่าง ๆ กับ หลวงพ่อหลาบ วัดเนินตอ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี จนเชี่ยวชาญจึงไปเรียนกับ หลวงพ่อหลุง วัดทุ่งสมอ อีก ๓ ปี กระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงทำการอุปสมบทที่ วัดใหม่เจริญผล โดยมี หลวงพ่อปลิว เป็นพระอุปัช ฌาย์แล้วไปจำพรรษาที่ สำนักสงฆ์วัดเขาคร้อ หนึ่งพรรษาจึงไปเรียนวิชา พุทธาคมและวิปัสสนากับ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน” จ.สุพรรณ บุรี จากนั้นก็ไปเรียนวิชากับ “หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ.นคร ปฐม” ซึ่งระหว่างเรียนวิชากับ “หลวงพ่อแช่ม” ได้พบกับศิษย์อีกคนหนึ่งของหลวงพ่อแช่มที่มาเรียนด้วยคือ “หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” จ.นคร ปฐม จากนั้นจึงไปจำพรรษาที่ สำนักสงฆ์เขาคร้อ จนคณะสงฆ์เห็นในศีลาจารวัตรของท่านเหมาะสม จึงนิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาส วัดกระต่ายเต้น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี อยู่ได้ไม่นานมีความเบื่อหน่ายกับการบริหารจัดการวัดร่วมกับกรรมการจึง ลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตฆราวาสอยู่ที่ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ระหว่างเป็นฆราวาสก็ปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๐๒ จึงได้ตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดกุฎบางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี โดยมี พระครูเกษมสุตคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเปรย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฉินนกาโม” ละไปจำพรรษาปฏิบัติธรรม ณ วัดไทยธรรมาราม อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ๕ พรรษาจึงกลับมา วัดกุฎบางเค็ม ชาวบ้านทุ่งแหลมเลื่อมใสในศีลาจารวัตร จึงนิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่ วัดทุ่งแหลม อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โดยได้ทำการพัฒนาวัดทุ่งแหลมจนเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับมา ระหว่างอยู่วัดทุ่งแหลมนี้เองมีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาก จึงได้สร้างมงคลวัตถุออกแจกจ่ายมากมายหลายรุ่นและมีประสบการณ์มากมาย จวบจนถึง วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงมรณภาพอย่างสงบ คงทิ้งไว้แต่อนุสรณ์แห่งความดีงามและมงคลวัตถุตลอดจนสังขารที่ไม่ เน่าเปื่อย ทางวัดได้ใส่หีบแก้วไว้ให้เป็นที่พึ่งทางใจแก่ผู้เลื่อม ใสศรัทธาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรม